วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การค้นหาข้อมูลด้วย search engine

Search 
ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและต่างประเทศ


24hrsความหมาย/ประเภทของ Search Engine
            การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เบ็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Seaech Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา (หรือกดปุ่ม Enter) เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที



Google Yahoo

            Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ


Siamguru Sanook

  1. Keyword Index   เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสังของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
     
  2. Subject Directories   การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ
     
  3. Metasearch Engines   จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
     
            ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่า ข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไร มีขอบข่ายกว้างขวางหรือแคบขนาดไหน แล้วจึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการของเรา  

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สัญสักษณ์ของป้ายผ้าสำหรับการดูแลรักษาเสื้อผ้า

สัญลักษณ์สากลของป้ายสำหรับการดูแลรักษาเสื้อผ้า

สัญลักษณ์สากลของป้ายสำหรับการดูแลรักษาเสื้อผ้ามีอยู่ 5 รูปแบบ




รูปอ่างสำหรับซัก แสดงกระบวนการซัก (โดยใช้มือหรือเครื่องซักผ้าก็ได้)
รูปสามเหลี่ยม แสดงกระบวนการฟอกขาวโดยใช้คลอรีน
รูปเตารีด แสดงกระบวนการรีดผ้า
รูปวงกลม แสดงกระบวนการซักแห้ง
รูปวงกลมในสี่เหลี่ยม แสดงกระบวนการ ทำให้ผ้าแห้ง หลังจากซัก

สัญลักษณ์สากลของกระบวนการซัก

ซักผ้าฝ้าย (ไม่มีขีดด้านล่าง) กระบวนการซักผ้าด้วยเครื่องแบบปกติและกระบวนการปั่นผ้าให้แห้งแบบปกต
ซักผ้าใยสังเคราะห ์(มีขีดหนึ่งขีด) กระบวนการซักผ้าแบบระมัดระวัง
และกระบวนการปั่นผ้าให้แห้งแบบระมัดระวัง
ซักผ้าใยขนสัตว์ (มีขีดสองขีด) หมายถึง กระบวนการซักผ้าและปั่นแห้ง ที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง
สัญลักษณ์สากลของอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการซักผ้า





ซักผ้าฝ้ายสีขาวและผ้าลินินสีขาว (ปราศจากการตกแต่งชนิดอื่น ๆ
ซักผ้าลินิน หรือ วิสโคส (ปราศจากการตกแต่งชนิดอื่น ๆ ) เมื่อสีที่ย้อมทนทานได้ ณ.อุณภูมิ 60'C
ซักผ้าไนลอน ผ้าใยผสมฝ้ายกับพอลิเอสเตอร์ ผ้าฝ้าย หรือผ้าวิสโคส ที่มีการตกแต่งพิเศษ
ผ้าใยผสมฝ้ายกับอะไครลิก ซักผ้าฝ้าย ลินิน หรือวิสโคส เมื่อสีที่ย้อมทนทานได้ ณ อุณภูมิ 40'c แต่ไม่ใช่ 60' c
ซักผ้าอะไครลิก ผ้าอะซิเตด ผ้าไตอะซิเตด รวมถึงผ้าใยอื่น ๆ ที่นำมาผสมกับใยขนสัตว
์ผ้าใยผสมกับโพลิเอสเตอร์ กับขนสัตว์
ซักผ้าขนสัตว์ ผ้าใยผสมขนสัตว์กับใยไหม
ซักผ้าด้วยมือ
ลักษณ์สากลของกระบวนการีดผ้า



200'C ผ้าลินิน ผ้าฝ้าย ผ้าวิสโคส์ Hot iron
150'C ผ้าใยผสมโพลิเอสเตอร์ ผ้าขนสัตว์ Warm iron
110'C ผ้าอะไครลิก ผ้าไนลอน ผ้า อะซิเตด ผ้าโพลิเอสเตอร์ Cool iron
ห้ามรีดด้วยเตารีด เพราะจะทำให้เส้นใยถูกทำลายได้ Do not iron
สัญลักษณ์สากลของกระบวนการซักแห้ง






เสื้อผ้าสำเร็จรูปนี้สามารถจะซักแห้งได้ในตัวทำละลายทุกชนิด
เสื้อผ้าสำเร็จรูปนี้สามารถจะซักแห้งใน เปอร์คลอโรเอทธีลีน ตัวทำละลาย R113 น้ำมันก๊าด และตัวทำละลาย R11
เสื้อผ้าสำเร็จรูปนี้จะมีความว่องไวกับตัวทำละลายที่กล่าวไว้ในสัญลักษณ์ ตัวที่สอง (P)
แต่จะต้องระมัดระวังการเติมน้ำในการซัก
ห้ามซักแห้งโดยเด็ดขาด
อบผ้าด้วยเครื่องรบความร้อนสูง
อบผ้าด้วยเครื่องความร้อนต่ำ
ห้ามอบผ้าด้วยเครื่องอบแห้ง

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเลือกซื้อเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย

1) ความเหมาะสมกับวัยและบุคลิกภาพ การเลือกซื้อเสื้อผ้าสวมใส่ ควรเลือกให้เหมาะสมกับวัยและบุคลิกภาพของตนเอง ดังนี้

วัยเด็ก เสื้อผ้าในวัยเด็ก ควรเป็นเสื้อผ้าที่มีสีสดใส รูปแบบเก๋ไก๋ น่ารัก ไม่รุ่มร่าม เมื่อสวมใส่แล้วสามารถถอดออกง่าย ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป

วัยรุ่น เสื้อผ้าของเด็กวัยรุ่น ควรเป็นเสื้อผ้าที่มีสีสดใสหรือสีอ่อนๆ ก็ได้ แบบของ เสื้อผ้าจะเป็นไปตามความนิยมของแต่ละบุคคล เช่น บางคนชอบแต่งตัวแบบน่ารัก เช่น สวมกระโปรงและเสื้อผ้าสีหวานๆ เรียบร้อย บางคนแต่งกายแบบแคล่วคล่อง ว่องไว สะดวกต่อ การทำงาน เช่น สวมใส่กางเกง และเสื้อที่สุภาพ เป็นต้น แต่ควรเลือกแบบที่สุภาพ และไม่รัดรูป หรือเน้นรูปร่างของผู้สวมใส่มากเกินไป

วัยผู้ใหญ่ เสื้อผ้าที่เหมาะสมกับคนวัยนี้ มักนิยมสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีสุภาพ เรียบร้อย เพื่อให้ดูสง่างาม เหมาะสมกับวัยและบุคลิกภาพของตนเอง




2) รูปร่าง การเลือกเสื้อผ้าสวมใส่ ควรคำนึงถึงรูปร่าง ดังนี้

คนที่มีรูปร่างสูงใหญ่ ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีลวดลายตามขวางเพื่ออำพรางหุ่นให้ดู กว้างขึ้นหรือเตี้ยลง เช่น ผู้ชายควรสวมใส่เสื้อตามลายขวาง ผู้หญิงสวมใส่กระโปรงบาน เป็นต้น

คนเตี้ย ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่มีลวดลายตามแนวยาว เพื่อให้ดูสูง เพรียวขึ้น ปกเสื้อที่ใส่ไม่ควรใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้คอสั้นและดูเตี้ยลง

คนอ้วน ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีสีเข้ม เช่น สีน้ำตาล น้ำเงิน ดำ แดงเข้ม เป็นต้น เพื่ออำพรางหุ่นให้ดูผอมเพรียวลง ส่วนแบบควรเป็นคอแหลม หรือคอวี กระโปรงแคบ รัดรูป ไม่ควรสวมใส่กระโปรงบานและยาว

คนผอม ควรเลือกใช้เสื้อผ้าที่มีสีอ่อนๆ เช่น ชมพู ฟ้า เหลือง เขียวอ่อน เป็นต้น เพื่ออำพรางหุ่นให้ดูอ้วนขึ้น ส่วนแบบเสื้อผ้าควรมีลวดลาย เช่นมีระบายหรือลูกไม้สวยงาม คอเสื้อควรมีปกตั้ง

3. การเลือกใช้เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับโอกาสที่ใช้สอย

การเลือกใช้เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับโอกาสและกาลเทศะในการใช้งาน มีดังนี้

1) งานรื่นเเสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปงานมงคล หรือริง เช่น งานแต่งงาน งานวันเกิด งานพบปะสังสรรค์กับเพื่อน ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีสดใส แบบและลวดลายผ้าเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของผู้สวมใส่ ถ้าเป็นงานกลางคืนควรใส่เสื้อผ้าที่มีรูปแบบหรูหรา อาจตกแต่งด้วยเลื่อมที่มีประกายแวววาว เนื้อผ้าควรมีลักษณะมันวาว พลิ้วสวย เป็นต้น
                                     

2) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปเที่ยว เช่น ไปเที่ยวชายทะเล ไปสวนสนุก ไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ควรเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่แล้วเกิดความคล่องตัว เคลื่อนไหวได้สะดวกสบาย แต่ไม่ควรสั้นหรือรัดรูปจนเกินไป รูปแบบมีลักษณะตามสมัยนิยม
                                                      
                            

3) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปเล่นกีฬา ควรเลือกชุดกีฬาและรองเท้าให้เหมาะสมกับกีฬาแต่ละประเภท เนื้อผ้าของเสื้อผ้า ควรมีความยืดหยุ่นดี ระบายอากาศได้ง่าย สวมใส่สบาย สะดวก และปลอดภัย ทั้งในขณะเล่นและพักผ่อนอิริยาบท
                                                       

4) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปงานศพ ควรเลือกเสื้อผ้าที่เรียบและสุภาพ ซึ่งประเพณีไทยนิยมใส่เสื้อผ้าที่มีสีดำหรือขาวเท่านั้น
                              

5) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ไปติดต่อสถานที่ราชการ ควรเลือกเสื้อผ้าที่สุภาพ เรียบร้อย เพื่อให้ดูสง่างาม น่าเชื่อถือ และเป็นการเคารพสถานที่และบุคคลที่เราจะไปติดต่อด้วย
                                           
 

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
           เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
          1.  เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น
          2.  เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
          3.  เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น
          4.  เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น  
องค์ประกอบของการสื่อสาร
          1.  ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
          2.  ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
          3.  ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
          4.  สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
          5.  โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล 
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
          การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้ 
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
          การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส  
โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
          เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา 
วอยซ์เมล (Voice Mail)               
          เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าวอยซ์เมล์บ็อกซ์ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)               
          เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)               
          เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย 
กรุ๊ปแวร์(groupware)               
           เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)               
          ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)               
          เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน                 
 การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
          เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ชนิดของสัญญาณข้อมูล
1.  สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)    
           
          เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของ
2.  สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)       
        
          สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่าง โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)                   
          โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที 
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
          1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
                                 2.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
                                   3.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) 
ตัวกลางการสื่อสาร
          1.  สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media)  สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
          -  สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)               
           สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำ         -  สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)               
           สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
          -  สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)               
          สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมี 
                     - แสงอินฟราเรด (Infrared)  เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
          -  สัญญาณวิทยุ (Radio Wave)  เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
          -  ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
          -  การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)  เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์ 
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล
          1.  ราคา
                 2.  ความเร็ว
                  3.  ระยะทาง
                                                         4.  สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
                                             5.  ความปลอดภัยของข้อมูล 
มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)
                 1. บลูทูธ (Bluetooth)
          2. ไวไฟ (Wi-Fi)
                       3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)